วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 23 กันยายน 2557
กลุ่มเรียน 102     เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.






ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมการทำลูกยางกระดาษ โดยอาจาย์เตรียมกระดาษและอุปกรณ์มาให้ แล้วสอนวิธีการทำ ถ้านำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็ก ให้เด็กได้สร้างผลงานด้วยตนเอง ตามทฤษฎี Constructivism ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง และวันี้ก็มีการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ

     - น.ส.นภาวรรณ กรุดขุนเทียน
       บทความเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่
      ผู้เขียน: ครูลำพรรณี  มืดขุนทด

          เรียนรู้ผ่านนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง มีขั้นตอนดังนี้
         
              - นำเด็กร้องเพลงไก่ และทำท่าทางตามอิสระ
              - สนทนาตั้งคำถามกับเด็ก "ไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร"
              - ให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำพูดที่เด็กบอกลงภาพนั้นๆ

     - น.ส.สุธาสิณี  ธรรมานนท์
       บทความเรื่อง 5 แนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
       ผู้เขียน: ดร.เทพกัญญา  พรหมขัติแก้ว
    
        ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
     
           - ตั้งคำถามให้เด็กสามารถตรวจสอบด้วยตนเอง
           - ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
           - เมื่อขั้น2 สำเร็จ เด็กจะเอาคำตอบที่พบมาตอบคำถามเอง
           - นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อนๆ
           - นำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

     - น.ส.นฤมล อิสระ
       บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       ผู้เขียน: มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
    
       การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

       - สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
       - สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
       - ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
       - ส่งเสริมกระบวนการคิด
       - ส่งเสริมจินตนาการและความคิดร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
       - ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
       - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ


     - น.ส.ยุพดี  สนประเสริฐ
บทความเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน: สสวท.

      ให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิดละลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย


     อาจารย์ยังได้มอบหมายให้เตรียมแกนกระดาษทิชชูมา 2คนต่อ1 อันในสัปดาห์หน้า และมอบหมายให้ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์โดยใช้เศษวัสดุ โดยให้ถ่ายรูปขั้นตอนการทำพร้อมอธิบายและวิธีการเล่นลงในบล็อก

      อาจารย์สอนโดยใช้Power Point เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อดังนี้

ความหมายทักษะการจำแนก
ความหมายทักษะการวัด
ความหมายทักษะการสื่อสาร
ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
ความหมายทักษะการคำนวณ


 การนำไปใช้
    
     ความรู้ที่ไดรับจากการเรียนการสอนและฟังบทความจาที่เพื่อนนำเสนอวันนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชานี้ต่อไป และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนการสอนรายวิชาอื่นได้ด้วย อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และการจัดกิจกรรมจากบทความที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆในอนาคตได้


การปรุะเมินผล

     ตนเอง: เข้าใจในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอบทความ และเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน

     เพื่อน: เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี มีบ้างที่คุยกันเสียงดัง

     อาจารย์: อาจารย์สอนในเนื้อหาที่เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น มีการใช้สื่อประกอบการสอน และใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนอยู่เสมอ



    

บทความ เรื่อง "สอนลูกเรื่องพืช"

สอนลูกเรื่องพืช
 
ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร  ปิลวาสน์
 
 
     การส่งเสริมใหเด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน เช่น
    
     -ให้เด็กได้ร่วมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงเลียง แกงส้ม หรือสลัดผัก พ่อแม่ควรให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการประกอบอาหาร การช่วยใส่ส่วนประกอบที่เป็นผักลงในกระทะ ขณะที่เด็กช่วยเตรียมผัก พ่อแม่อาจจะพูดคุยกะเด็กว่าผักที่กำลังเตรียมมีชื่ออะไรบ้าง มีประโยช์อย่างไร นอกจากจะให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับผักแล้ว ยังเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูกด้วย
 
     - การหัดให้เด็กได้เพาะปลูกพืชง่างๆที่บ้าน พ่อแม่อาจมอบหมายให้เด็กปลูกผักกาด ผักบุ้ง กระถางเล็กๆ ให้เด็กดูแลรักษา ตลอดจนเก็บผักมาประกอบอาหาร
 
     - ให้เด็กได้ช่วยเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้ และนำมาจัดสวนหย่อมที่หน้าบ้าน เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้ และรู้จักพืชได้มากขึ้น
 
     - พาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ ภูเขา น้ำตก ควรแนะนำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืชชนิดต่างๆ และปลูกฝังลักษณะนิสัยในการร่วมอนุรักษ์พันธุ์พืชและป่าไม้ให้กับเด็ก


                                               
 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
วันที่ 16 กันยายน 2557
 
กลุ่มเรียน 102     เวลาเรียน 14.10 -17.30 น.




ความรู้ที่ได้รับ

     **วันนี้อาจารย์มีสื่อวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสงมาให้ดู มีเพลงวิทยาศาสตร์มาให้ฟังและให้ช่วยกันวิเคราะห์ว่าเนื้อหาในเพลงกล่าวถึงอะไรบ้าง
     - ความรู้ คือ เนื้อหาสาระ
     - ทักษะ คือ การวิเคราะห์ ปฏิบัติ การคิด
     - กิจกรรมใดๆก็ตาม ควรให้เด็กได้ลงมือกระทำ โดยให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
     - การลงมือกระทำ เป็นวิีการเรียนรู้ของเด็ก
     
    ** วันนี้ดิฉันและเพื่อน 1 คน นำเสนอบทความ
       1) น.ส.วีนัส ยอดแก้ว
          นำเสนอบทความเรื่อง "หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่" ของ อ.ชุติมา เตมียสถิต

      2) น.ส.เจนจิรา บุตรช่วง
        นำเสนอบทความเรื่อง "สอนลูกเรื่องผัก" ของ อ.นิติธร ปิลวาสน์

     **อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน คิดหัวเรื่องแล้วแตกออกว่าเนื้อหาเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง โดยอาจารย์แจกกระดาษให้ไปทำMind Maping มาส่งอาทิตย์หน้า

    **อาจารย์ได้พูดถึงเรืองบล็อกว่าให้ใส่ภาษาอังกฤษในส่วนที่พอจะใส่ได้ เพื่อให้เราเกิดความคุ้นเคยกับภาษา

    **อาจารย์ให้ไปดูVDO เรื่อง "ความลับของแสง" แล้วให้สรุป








การนำไปใช้

     จากการเรียนวันนี้ ทำให้รู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากขึ้น และจากความรู้ที่ได้ามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กในอนาคได้ และจากที่ตนเองและเพื่อนนำเสนอบทความในวันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตและในรายวิชาอื่นๆได้


การประเมินผล

     ตนเอง: มีความพร้อมในการเรียน เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน
    
     เพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

     อาจารย์: อาจารย์มีความพร้อมในการสอน เตรียมเนื้อหาในการสอนมาเป็นอย่างดี สอนเข้าใจง่าย





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
วันที่ 9 กันยายน 2557
 
กลุ่มเรียน 102     เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.

 
 


ความรู้ที่ได้รับ 







การนำไปใช้

     จากความรู้ที่ได้รับจากการเรียนเรื่อง"รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย" ในวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาการของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การประเมินผล

     ตนเอง: เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน สามารถทำงานส่งตามที่อาจารย์สั่งได้

     เพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความสำคัญกับงานที่อาจารย์สั่ง

     อาจารย์: อาจารย์สอนโดยการอภิปราย ยกตัวอย่าง ประกอบกับการใช้สื่อการสอน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
วันที่ 2 กันยายน 2557
 
กลุ่มเรียน 102    เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.
 

ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย แต่ได้สอบถามจากเพื่อนทำให้ทราบว่าวันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรม "โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ" THINKING FACULTY  ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้

     - นิทรรศการ การคิดวิจารณญาณ
     - นิทรรศการ การคิดเป็นระบบ
     - นิทรรศการ การคิดวิเคราะห์
     - นิทรรศการ การคิดสังเคราะห์
     - นิทรรศการ การคิดสร้างสรรค์
   - นิทรรศการ ผลงานการคิด




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
วันที่ 26 สิงหาคม 2557
 
กลุ่มเรียน 102     เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.


 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
     - วันนี้เรียนเรื่อง"วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" 
     - เด็กปฐมวัยคือ เด็กแรกเกิดถึง 5ปี 11เดือน 29วัน
     - เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการเล่น
     - เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น
     - การเล่นของเด็ก คือ เล่นเป็นกลุ่ม เล่นคนเดียว
    - พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นโดยเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
     - ตัวที่สะท้อนพัฒนาการของเด็กคือ พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาให้เห็น
     - พัฒนาการเป็นตัวบ่งบอกความสามารถตามอายุ
     - การเรียนรู้ คือ การได้รับประสบการณ์แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
    - ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญต่อเด็กปฐมวัย(เครื่องมือที่จะใช้)
          1) คณิตศาสตร์
          2) ภาษา
 
 
 
การนำไปใช้
 
     จากความรู้เรื่อง"วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"ที่ได้รับในวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบกิจกรรม ออกแบบประสบการณ์ และจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลำดับขั้นของพัฒนาการของเด็กได้ สามารถนำไปปรับใช้ในการเขียนแผน และนำไปบูรณาการในรายวิชาอื่นได้
 
 
การประเมินผล
 
     ตนเอง: มีความพร้อมในการเรียน และร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆ
 
     เพื่อน: เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน ให้ความสนใจในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
 
     อาจารย์: อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนมาเป็นอย่างดี สอนโดยการอภิปรายและใช้Power Point ประกอบการสอน และมีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา
 

 

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 19 เดือน สิงหาคม 2557
กลุ่มเรียน 102  เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.

 
ความรู้ที่ได้รับ
 
          วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรกของรายวิชา อาจารย์ได้แจก Course Syllabus และได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลลัพธ์การเรียนรู้หลังจากเรียนวิชานี้ อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับคะแนน การตัดเกรด พูดถึงเรื่องที่จะเรียนในแต่ละสัปดาห์ และอาจารย์ยังได้ชี้แจงเรื่องการทำแฟ้มสะสมงานโดยใช้บล็อก
 
 
การนำไปใช้
 
          นำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปใช้ในการเรียน เพื่อให้เป็นไปตามเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของรายวิชา และประสบความสำเร็จในการเรียนในรายวิชานี
 
 
การประเมินผล
 
     ประเมินตนเอง: มีความพร้อมและสนใจในการเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์พูด
 
     ประเมินเพื่อน: เพื่อนบางกลุ่มตั้งใจเรียน สนใจที่จะตอบคำถามที่อาจารย์ถาม แต่ก็มีบางกลุ่มที่คุยกัน เล่นโทรศัพท์
 
     ประเมินอาจารย์: อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนมาเป็นอย่างดี อาจารย์สอนโดยการอภิปราย มีการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดหาคำตอบ