วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 23 กันยายน 2557
กลุ่มเรียน 102     เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.






ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมการทำลูกยางกระดาษ โดยอาจาย์เตรียมกระดาษและอุปกรณ์มาให้ แล้วสอนวิธีการทำ ถ้านำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็ก ให้เด็กได้สร้างผลงานด้วยตนเอง ตามทฤษฎี Constructivism ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง และวันี้ก็มีการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ

     - น.ส.นภาวรรณ กรุดขุนเทียน
       บทความเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่
      ผู้เขียน: ครูลำพรรณี  มืดขุนทด

          เรียนรู้ผ่านนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง มีขั้นตอนดังนี้
         
              - นำเด็กร้องเพลงไก่ และทำท่าทางตามอิสระ
              - สนทนาตั้งคำถามกับเด็ก "ไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร"
              - ให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำพูดที่เด็กบอกลงภาพนั้นๆ

     - น.ส.สุธาสิณี  ธรรมานนท์
       บทความเรื่อง 5 แนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
       ผู้เขียน: ดร.เทพกัญญา  พรหมขัติแก้ว
    
        ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
     
           - ตั้งคำถามให้เด็กสามารถตรวจสอบด้วยตนเอง
           - ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
           - เมื่อขั้น2 สำเร็จ เด็กจะเอาคำตอบที่พบมาตอบคำถามเอง
           - นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อนๆ
           - นำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

     - น.ส.นฤมล อิสระ
       บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       ผู้เขียน: มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
    
       การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

       - สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
       - สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
       - ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
       - ส่งเสริมกระบวนการคิด
       - ส่งเสริมจินตนาการและความคิดร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
       - ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
       - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ


     - น.ส.ยุพดี  สนประเสริฐ
บทความเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน: สสวท.

      ให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิดละลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย


     อาจารย์ยังได้มอบหมายให้เตรียมแกนกระดาษทิชชูมา 2คนต่อ1 อันในสัปดาห์หน้า และมอบหมายให้ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์โดยใช้เศษวัสดุ โดยให้ถ่ายรูปขั้นตอนการทำพร้อมอธิบายและวิธีการเล่นลงในบล็อก

      อาจารย์สอนโดยใช้Power Point เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อดังนี้

ความหมายทักษะการจำแนก
ความหมายทักษะการวัด
ความหมายทักษะการสื่อสาร
ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
ความหมายทักษะการคำนวณ


 การนำไปใช้
    
     ความรู้ที่ไดรับจากการเรียนการสอนและฟังบทความจาที่เพื่อนนำเสนอวันนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชานี้ต่อไป และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนการสอนรายวิชาอื่นได้ด้วย อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และการจัดกิจกรรมจากบทความที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆในอนาคตได้


การปรุะเมินผล

     ตนเอง: เข้าใจในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอบทความ และเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน

     เพื่อน: เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี มีบ้างที่คุยกันเสียงดัง

     อาจารย์: อาจารย์สอนในเนื้อหาที่เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น มีการใช้สื่อประกอบการสอน และใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนอยู่เสมอ



    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น